ข้อมูลพื้นฐาน


ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนเมืองน้อยราษฎร์สงเคราะห์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ถนน ชัยภูมิ - ตาดโตน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัด ศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาพญาแล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

ประวัติ(ย่อ)ของโรงเรียน

โรงเรียนเมืองน้อยราษฎร์สงเคราะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ชุมชนเมืองน้อยเหนือ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิเดิมอาศัยเรียนยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดบึงแวง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 และได้ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลในเมือง 3 (วัดบึงแวง)” ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 นายหล่า มโนธรรม ชาวบ้านเมืองน้อยเหนือ ได้มอบที่ดินให้กับโรงเรียน ผู้ใหญ่บ้านทั้งสองหมู่บ้าน 3 และชาวบ้าน ได้ร่วมมือกันก่อสร้างโรงเรียนหลังใหม่ ในบริเวณด้านตะวันตกของวัดบึงแวง พร้อมมอบที่ดินให้กับโรงเรียนจำนวน 6 ไร่ 3 งาน 19 ตารางวา และตั้งชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลในเมือง(ราษฎร์สงเคราะห์)” เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนเมืองน้อยราษฎร์สงเคราะห์” และได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2513

ปัจจุบัน โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้องเรียน มีครูประจำการ 11 คน พนักงานราชการ(ครูผู้สอน) 1 คน , เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

โรงเรียนเมืองน้อยราษฎร์สงเคราะห์มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย
ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2565

ปรัชญาของโรงเรียน

" สะอาดดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา"

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

“ โรงเรียนร่มรื่น นักเรียนไหว้สวย ”

คติพจน์

อัตตะนา โจทะยัตตานัง

“ จงเตือนตนด้วยตนเอง ”

พันธกิจ

1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิด และใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้สู่มาตรฐานสากล

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

4. ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

5. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐานตามสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา

6. สร้างเสริมโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

7. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนมีทักษะ ความรู้ความสามารถตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ผู้เรียนมีทักษะในการคิด และใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้สู่มาตรฐานสากล

3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

4. มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็ง

5. บุคลากรมีมาตรฐานตามสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา

6. สร้างเสริมโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วน

7. ผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

สีประจำโรงเรียน

สีเขียว – สีเหลือง

ตราโรงเรียน